คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee : RMC) ประกอบด้วยกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงอย่างน้อย 3 คน ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในอันที่จะดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และได้มีการทบทวนองค์คณะอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เหมาะสมกับโครงสร้างองค์กรและลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ประกอบด้วยบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน โดยคณะกรรมการบริษัทกำหนดในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจของบริษัทฯ ให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ทั้งนี้ ในปี 2566 มีการประชุมจำนวน 1 ครั้ง โดยรายชื่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และการเข้าร่วมประชุมในปี 2566 ของแต่ละท่านสรุปได้ ดังนี้

หมายเหตุ : ข้อมูลเพิ่มเติม และการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี 2566

\1 นายกิตติศักดิ์ ช่วงอรุณ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารความเสี่ยง แทน นายสมภพ บุษปวนิช มีผลตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2566 ประชุมเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

\2 นางสาวจรรย์จิรา พนิตพล ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารความเสี่ยง แทน นางสาวชลยา พร้อมศรี มีผลตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2566 ประชุมเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

\3 นายสมภพ บุษปวนิช ได้โอนย้ายไปยัง บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

\4 นางสาวชลยา พร้อมศรี ได้โอนย้ายไปยัง บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท โดยมีขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กำหนดไว้ใน กฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ดังต่อไปนี้

  1. พิจารณาสอบทาน และนำเสนอนโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยงให้แก่คณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  2. พิจารณาสอบทานและให้ความเห็นชอบความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) และนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อรับทราบ
  3. กำกับดูแลการพัฒนาและการปฏิบัติตามนโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มบริษัทฯ มีระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กรและมีการปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง
  4. สอบทานรายงานการบริหารความเสี่ยงเพื่อติดตามความเสี่ยงที่มีสาระสำคัญ และดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรมีการจัดการความเสี่ยงอย่างเพียงพอและเหมาะสม
  5. ประสานงานกับคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับความเสี่ยงที่สำคัญ และมีหน่วยงานตรวจสอบภายในเป็นผู้สอบทานเพื่อให้มั่นใจว่า กลุ่มบริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมต่อการจัดการความเสี่ยง รวมทั้งการนำระบบการบริหารความเสี่ยงมาปรับใช้อย่างเหมาะสมและมีการปฏิบัติตามทั่วทั้งองค์กร
  6. รายงานคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ
  7. ให้คำแนะนำและคำปรึกษากับคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง (Sub Risk Management Committee : SRM) และ/หรือ หน่วยงาน และ/หรือคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยง
  8. พิจารณาแต่งตั้งอนุกรรมการ และ/หรือบุคลากรเพิ่มเติมหรือทดแทนใน คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงและ/หรือ หน่วยงาน และ/หรือ คณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงตามความเหมาะสม รวมทั้งกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์
  9. ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย

 

หมายเหตุ : สามารถศึกษาประวัติโดยละเอียดของคณะกรรมการชุดย่อยรายบุคคล เพิ่มเติม