ประวัติบริษัท

ประวัติบริษัท

การขยายตัวของธุรกิจ

ปี เหตุการณ์
2526
จัดตั้งบริษัทแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนท์เม้นท์ จำกัด โดยในระยะแรกดำเนินธุรกิจหลักสร้างสรรค์ผลงาน เพลงไทยสากลโดยออกอัลบั้มชุดแรก "นิยายรักจากก้อนเมฆ " โดยแพทย์หญิง พันทิวา สินรัชตานันท์ และผลิตรายการทีวี 3 รายการได้แก่ ยิ้มใส่ไข่, มันกว่าแห้ว, เสียงติดดาว
2527
แกรมมี่ประสบความสำเร็จอย่างมากในการออกอัลบั้ม "เต๋อ 1" ของเรวัต พุทธินันท์
2529
อัลบั้มแรกของ ธงไชย แมคอินไตย์ "หาดทราย สายลม สองเรา" ออกวางตลาด พร้อมทั้งเพิ่มการผลิต เพลงแนวร็อค โดยออกอัลบั้ม "ร็อค เล็ก เล็ก" ของวงไมโคร
2531
จัดตั้งบริษัท เอ็มจีเอ จำกัด เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายเทปเพลงและสินค้าบันเทิงอื่นๆ
2532
ขยายธุรกิจสู่ธุรกิจวิทยุ โดยจัดตั้งบริษัท เอ-ไทม์ มีเดียจำกัด ออกอากาศ "Green Wave" และ "Hot wave" เป็นสองสถานีแรก
2534
จัดตั้งบริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตรายการทีวี และเริ่มออกอากาศละครซี่รีส์ สามหนุ่ม สามมุม นอกจากนี้ยังรุกเข้าสู่ธุรกิจจัดคอนเสิร์ตโดยจัดตั้งบริษัท เอ็กซ์ทรอกาไนเซอร์ จำกัด ทำใหแกรมมี่เป็นกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจบันเทิงครบวงจรมากยิ่งขึ้น
2536
เริ่มต้นเข้าสู่ยุคแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์และภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์ผลงานเพลงและผลงานบันเทิง
2537
นำบริษัท แกรมมี่ เอ็นเทอร์เทนเมนต์ จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และเริ่มธุรกิจภ าพยนตร์ (Featured film)
2539
ขยายเข้าสู่ธุรกิจสิ่งพิมพ์ โดยการเข้าลงทุนในนิตยสารอิมเมจ
2540
เริ่มขยายไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเปิดบริษัทในประเทศไต้หวัน
2542
จัดตั้งโรงเรียนสอนดนตรีมีฟ้า
2543
จัดตั้งหน่วยธุรกิจ E-Business เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ Digital content เพื่อรองรับธุรกิจที่เกิดจาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา
2544
เปลี่ยนชื่อบริษัทจากบริษัท แกรมมี่ เอ็นเทอร์เทนเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
2545
มีการแยกบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ออกจากกลุ่มบริษัทเพื่อจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ โดย มีการโอนขายบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์ จำนวน 8 บริษัทจากบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ให้แก่บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน)
2546
กลุ่มบริษัทมีกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจภาพยนตร์โดย ผลิตภาพยนตร์คุณภาพถึง 5 เรื่องออกฉาย ภายในปีนี้ เรื่อง "แฟนฉัน" ประสบความสำเร็จอย่างสูง จากการเป็นภาพยนตร์ไทย ที่ทำรายได้ จากการฉายสูงสุดในปี 2546 นอกจากนี้เรื่อง "Beautiful Boxer" ยังได้รับความสนใจจากต่าง ประเทศอย่างมาก
2547
ตั้งเป้าหมายสู่การเป็น "King of content" โดยการร่วมลงทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจ ได้แก่บริษัท ดีทอล์ค จำกัด (ผลิตรายการทีวี), บริษัทสยามอินฟินิท จำกัด (ให้บริการเกมออนไลน์), บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ จำกัด (ผลิตภาพยนตร์) และบริษัทนินจา รีเทินส์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (รับจัดกิจกรรมและคอนเสิร์ต)
2548
เมษายน
ขยายธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจอีเวนท์ โดยเข้าลงทุน 50% ในบมจ. อินเด็กซ์ อีเวนท์ เอเจนซี่ ผ่านบริษัทย่อย บมจ. จีเอ็มเอ็ม มีเดีย เพื่อให้มีธุรกิจสื่อที่ครบวงจร ครอบคลุมทุกเซ็กเมนท์
ได้รับการโหวตให้เป็น "Best Small Cap" ของประเทศไทย และได้อันดับสองในการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ซึ่งจัดโดยนิตยสาร FinanceAsia
มิถุนายน
เข้าลงทุนใน บมจ. ซีเอ็ดยูเคชั่น เพื่อพัฒนาความร่วมมือทางธุรกิจ เช่น ช่องทางการจำหน่ายสินค้า
กรกฎาคม
เข้าร่วมทุนในบริษัท คลีน คาราโอเกะ จำกัด เพื่อให้บริหารจัดการเรื่องลิขสิทธิ์เพลง การจัดการเรียกเก็บเงิน จากตู้คาราโอเกะ โดยบริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 80 ของทุนจดทะเบียนจำนวน 20 ล้านบาท
กันยายน
ลงทุนผ่าน บมจ.จีเอ็มเอ็ม มีเดีย เพื่อขยายเข้าสู่ธุรกิจหนังสือพิมพ์ โดยการลงทุนใน บมจ.มติชน ในสัดส่วน 20% และ บมจ.โพส พับลิชชิง ในสัดส่วน 23.6%
2549
เข้าร่วมทุนในบริษัทจีเอ็มเอ็ม ฟิสเนตคลับ จำกัด เพื่อให้บริการด้านสถานออกกำลังกาย โดยบริษัทฯถือหุ้น ในสัดส่วนร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน จำนวน 40 ล้านบาท

เข้าร่วมทุนในบริษัทลักษ์มิวสิค 999 จำกัด เพื่อขยายธุรกิจด้านการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าเพลง โดย บริษัทฯถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน จำนวน 20 ล้านบาท
2550
บริษัทซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ทรี-อาร์ดี จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 จำนวน 2.63 ล้านบาท

บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ได้ลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท แชนแนล(วี) มิวสิค(ประเทศไทย) ในสัดส่วนร้อยละ 25 จำนวน 16.65 ล้านบาท
2551
จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด ได้ขอเพิกถอนจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2552
เข้าร่วมทุนใน บริษัท แฟมมิลี่ โนฮาว จำกัด ดำเนินธุรกิจสถานีโทรทัศน์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุน โดยบริษัทฯ ถือหุ้นสามัญ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท
2553
เข้าร่วมลงทุนในบริษัท แอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด กับ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท ร่วม เพื่อดำเนินการก่อสร้างสตูดิโอขนาดใหญ่ โดยถือหุ้นกันในสัดส่วนร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนจำนวน 200 ล้านบาท

เข้าร่วมลงทุนในบริษัท ลักษ์ แซทเทิลไลท์ จำกัด เพื่อผลิตรายการออกอากาศผ่าน ดาวเทียม โดยถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียนจำนวน 20 ล้านบาท
2554
เข้าร่วมทุนกับบริษัท ซีเจ โอ ช้อปปิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทโฮมช้อปปิ้ง อันดับ1 ของสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อประกอบธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง โดยบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด 540 ล้านบาท
2555
มีนาคม
บริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยได้ลงทุนในหุ้นสามัญของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด ซึ่งได้จดทะเบียนจัดตั้งกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2555 ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก
มิถุนายน
เปิดตัวธุรกิจโฮม ช้อปปิ้ง ผ่านทางช่องทีวีดาวเทียม ภายใต้ชื่อ "GCJ O Shopping"ซึ่งสามารถรับชมได้ผ่านแพลตฟอร์ม GMM Z ช่อง 0 และแพลตฟอร์มทีวีดาวเทียมอื่นๆ รวมถึงเคเบิลทีวีทั่วประเทศ
2556
กุมภาพันธ์
เปิดให้บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแบบบอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี) อย่างเป็นทางการ ซึ่งสมาชิกสามารถเลือกรับชมช่องรายการเพย์ทีวี ได้โดยการซื้อบัตรเติมช่อง ที่มีรูปแบบแพคเกจ 4 ประเภท คือ แพคเกจช่องบันเทิงแบบรายเดือน แพคเกจช่องกีฬาแบบรายเดือน แพคเกจรวมช่องบันเทิงและกีฬาแบบรายเดือน และแพคเกจรวมช่องบันเทิงและกีฬาแบบรายปี
มีนาคม
นำภาพยนตร์เรื่อง “พี่มาก.. พระโขนง” ออกสู่สายตาประชาชน และทำรายได้ Box Office สูงสุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย ที่ 567 ล้านบาท
กรกฎาคม
เปิดตัวบริการใหม่ สำหรับโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแบบบอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี) ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ภายใต้ระบบ AIS ชื่อ "GMM Z on AIS"อย่างเป็นทางการ เพื่อขยายฐานลูกค้าเพย์ทีวี
กันยายน
เปิดให้มีการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ด้วยอัตราส่วน 5 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ในราคาหุ้นละ 10 บาท โดยมีผู้ใช้สิทธิแสดงความจำนงในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนครบตามจำนวนที่เสนอขาย คือ 106,052,989 หุ้น ส่งผลให้สามารถระดมเงินทุนคิดเป็นจำนวน 1,060,529,890 บาท
ธันวาคม
เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ
2557

มกราคม
- ชนะการประมูลในการใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดสูง (วาไรตี้ เอชดี) และแบบความคมชัดปกติ (วาไรตี้ เอสดี)
เมษายน
- เริ่มทดลองออกอากาศโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลทั้ง 2 ช่อง
กรกฎาคม
- ร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) (“CTH”) ในการดำเนินธุรกิจเพย์ทีวี โดยเข้าซื้อหุ้นสามัญของ CTH จำนวน 30,000,000 หุ้น มูลค่ารวม 1,030,000,000 บาท โดยบริษัทฯ จะชำระราคาค่าซื้อหุ้นดังกล่าวเป็นหุ้นสามัญของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด (“GMM B”) ให้แก่บริษัทย่อยของ CTH คือ บริษัท ซีทีเอช แอลซีโอ จำกัด (“CTH LCO”) เป็นจำนวน 38,659,700 หุ้น ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของ GMM B ดังนั้นจึงมีผลทำให้ GMM B สิ้นสภาพในการเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ความร่วมมือทางธุรกิจนี้ จะสามารถรวมศักยภาพของทั้ง 2 บริษัทเข้าด้วยกันทั้งทางด้านการตลาด ด้านรายการ ด้านเครือข่าย และฐานลูกค้า
- ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2557 มีมติอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 183,631,793 หุ้น มีรายละเอียดดังนี้
      • จัดสรรและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 63,631,793 หุ้น ในราคาหุ้นละ 13.50 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายถืออยู่ (Rights Offering) ในอัตราจัดสรร 10 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ในกรณีที่มีหุ้นสามัญเพิ่มทุนเหลือจากการจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนนี้ บริษัทฯ จะนำไปจัดสรรและเสนอขายให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ต่อไป
       • จัดสรรและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 120,000,000 หุ้นให้แก่ผู้ลงทุนเฉพาะเจาะจง (Private Placement)
โดยวัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุนในครั้งนี้เพื่อรองรับแผนการลงทุนในธุรกิจด้านต่าง ๆ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับฐานะทางการเงินของบริษัทฯ ซึ่งส่งผลให้บริษัทฯ สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน เป็นประโยชน์ให้ผู้ถือหุ้นได้ในระยะยาว
ตุลาคม
- เปิดให้มีการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายถืออยู่ (Rights Offering) ด้วยอัตราส่วน 10 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ในราคาหุ้นละ 13.50 บาท ทำให้บริษัทฯ ได้รับเงินกว่า 766 ล้านบาท
พฤศจิกายน
- เปิดให้มีการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ลงทุนเฉพาะเจาะจง (Private Placement) จำนวนทั้งสิ้น 126,878,693 หุ้น และได้รับผลตอบรับจากนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงบริษัทจดทะเบียน และกลุ่มนักลงทุน High Net Worth โดยยอดจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนสูงกว่ายอดเสนอขาย (Oversubscribe) ในอัตราส่วนมากถึง 1.20x เท่า

2558

มกราคม
- จำหน่ายหุ้นสามัญของ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 49.55 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 6 บาท ให้กับนายณัฐพล จุฬางกูร ซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทฯ ได้รับเงินสุทธิ (หลังจากหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง) เท่ากับ 297.16 ล้านบาท
กุมภาพันธ์
- ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2558 มีมติอนุมัติการสละสิทธิการซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนบางส่วนในบริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี เทรดดิ้ง จำกัด ให้กับกลุ่มนายถกลเกียรติ วีรวรรณ ซึ่งเป็นบุคคลเกี่ยวโยงกับบริษัทฯ ส่งผลให้บริษัทฯ มีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี เทรดดิ้ง จำกัด เท่ากับร้อยละ 51 รวมทั้งอนุมัติการขายเงินลงทุนในบริษัท แอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด ที่บริษัทฯ ถือครองทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับ บริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี เทรดดิ้ง จำกัด อีกด้วย
มิถุนายน
- ขายเงินลงทุนทั้งหมดใน บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) จำนวน 86,000,000 หุ้น (คิดเป็นร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว) ให้กับ บริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในราคาหุ้นละ 5 บาท สูงกว่ามูลค่าตามบัญชี ซึ่งอยู่ที่ราคาหุ้นละ 3.40 บาท (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557) คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 430 ล้านบาท
สิงหาคม
- ขายเงินลงทุนกลุ่มธุรกิจสิ่งพิมพ์ในเครือของบริษัทฯ ทั้งหมด ให้กับ กลุ่มบริษัท ซี ทรู จำกัด คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 45.00 ล้านบาท สูงกว่ามูลค่าตามบัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2558 ซึ่งมีมูลค่ารวม 28.89 ล้านบาท
ธันวาคม
- ยุติการดำเนินงานของบริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ จำกัด (GTH) โดยจะมีผลในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป็นต้นไป ทั้งนี้บริษัทฯ จะเป็นผู้บริหารสิทธิ์ของผลงานทั้งหมดและจะมีการแต่งตั้งตัวแทนในการบริหารสิทธิ์อย่างเป็นทางการอีกครั้ง สำหรับผลงานที่ทาง GTH กำลังดำเนินการผลิตอยู่นั้น จะดำเนินการผลิตต่อและนำออกเผยแพร่ในนามของ GTH จนเสร็จสิ้น
จะเป็นผู้บริหารสิทธิ์ของผลงานทั้งหมดและจะมีการแต่งตั้งตัวแทนในการบริหารสิทธิ์อย่างเป็นทางการอีกครั้ง สำหรับ ผลงานที่ทาง GTH กำลังดำเนินการผลิตอยู่นั้น จะดำเนินการผลิตต่อและนำออกเผยแพร่ในนามของ GTH จนเสร็จสิ้น
- จัดตั้งบริษัทย่อย ชื่อ บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด (GDH 559) เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ รวมถึงสื่อโฆษณาและบริการจัดหานักแสดง โดยมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว จำนวน 5 ล้านบาท และบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 51

2559

มกราคม
- บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด (GDH 559) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 150 ล้านบาท
กุมภาพันธ์
-มีการประกาศยุติบริการ Z PAY TV ซึ่งถือเป็นการยุติบริการในส่วน PAY TV ที่ดำเนินการและเป็นเจ้าของโดยกลุ่ม CTH โดยกลุ่มบริษัทฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้บริการดังกล่าวแต่อย่างใด ขณะเดียวกัน ธุรกิจแพลตฟอร์มโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม “GMM Z” ของกลุ่มบริษัทฯ ยังคงดำเนินการจำหน่ายกล่องรับสัญญาณให้ผู้ใช้บริการสามารถรับชมช่องรายการฟรีทีวีได้ตามปกติ ทั้งในระบบ C-Band และ KU-Band
พฤศจิกายน
- บริษัทฯ ได้เข้าร่วมลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นของบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (“สัญญาซื้อขายหุ้น”) โดย วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้พิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 1,095,000,000 บาท ซึ่งหลังจากกระทำการแล้วเสร็จ บริษัทฯจะได้เป็นผู้ถือหุ้นใน วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ร้อยละ 25.50 ของทุนจดทะเบียน กลุ่มนาย ถกลเกียรติ เป็นผู้ถือหุ้นใน วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ร้อยละ 24.50 ของทุนจดทะเบียน และประนันท์ภรณ์ เป็นผู้ถือหุ้นใน วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน
- บริษัท ฯ เข้าทำสัญญาโดยตรงกับ UNION DES ASSOCIATIONS EUROPEENNES DE FOOTBALL (“EUFA”) เพื่อให้บริษัทฯ เป็นผู้ได้รับสิทธิในการถ่ายทอดและเผยแพร่ภาพและเสียงของการแข่งขันฟุตบอลรอบคัดเลือกโซนยุโรปของรายการ 2018 FIFA World Cup และบริษัทฯ เข้าทำบันทึกข้อตกลงกับบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด และบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (รวมเรียกว่า “BEC”) เพื่อให้สิทธิ BEC เป็นผู้ถ่ายทอดและเผยแพร่ภาพและเสียงของการแข่งขันฟุตบอลรอบคัดเลือกโซนยุโรปของรายการ 2018 FIFA World Cup ผ่านทางช่องรายการของ BEC
ธันวาคม
- หัวหน้า คสช. มีคำสั่งฉบับที่ 76/2559 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการดิจิทัลทีวี ด้วยการขยายเวลาชำระค่าใบอนุญาตงวดที่เหลืออีก 3 งวดออกไปเป็น 6 งวด โดยคิดดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งให้สนับสนุนค่าใช้จ่ายการส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่ให้บริการทั่วไปผ่านดาวเทียม เป็นเวลา 3 ปี รวมถึงบริการโทรทัศน์สาธารณะที่นำรายการไปออกอากาศทางดาวเทียมเพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยให้ใช้เงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) สนับสนุน
- นอกจากนี้ยังให้ขยายระยะเวลาการถือครองคลื่นวิทยุของหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจที่มีอยู่ 537 คลื่น ออกไปอีก 5 ปี จากเดิมที่มีกำหนดจะต้องส่งคืนให้ กสทช. ภายในเดือน เมษายน 2560

2560

พฤษภาคม
- บริษัทฯ ได้ขายเงินลงทุนทั้งหมดที่บริษัทฯ ถืออยู่ใน บริษัท ทรี-อาร์ดี จำกัด (“3RD”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย จำนวน 90,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน ให้กับ บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) ในราคาหุ้นละ 111.11 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 10 ล้านบาท
- บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้า ได้ดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนเสร็จสมบูรณ์ โดยเป็นการขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับ บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด จำนวน 19,050,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 100 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,905 ล้านบาท เท่ากับร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นในเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ของบริษัทฯ และกลุ่มนายถกลเกียรติ วีรวรรณ เปลี่ยนแปลงเป็นร้อยละ 25.50 และ 24.50 ตามลำดับ ขณะที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายได้เข้าร่วมรับภาระการค้ำประกันเงินกู้ยืมที่ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ มีต่อสถาบันการเงินในสัดส่วนร้อยละ 50
สิงหาคม
- บริษัทฯ ได้เข้าร่วมลงนามในสัญญาจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด ตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 8/2560 โดยผู้จองซื้อเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ซึ่งมี นาย ฐาปน สิริวัฒนภักดี และ นาย ปณต สิริวัฒนภักดี เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เมื่อรวมทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นกับทุนจดทะเบียนเดิมของ จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำนวน 800 ล้านบาท ทำให้ จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง มีทุนจดทะเบียนภายหลังการเพิ่มทุนเป็นจำนวนทั้งสิ้น 2,000 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทฯ ต้องดำเนินการปรับโครงสร้างการลงทุนของกลุ่มบริษัท เพื่อให้มีกลุ่มบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง กลายเป็นบริษัทใหญ่ ถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ ประกอบด้วย (1) บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด (2) บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด (3) บริษัท จีเอ็มเอ็ม ทีวี จำกัด (4) บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) (5) บริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด และ (6) บริษัท เอ-ไทม์ ทราเวิลเลอร์ จำกัด
กันยายน
- บริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญาระงับข้อพิพาทกับบริษัท ฟ็อกซ์ เน็ตเวิร์ค กรุ๊ป เอเชีย แปซิฟิค จำกัด (“FOX”) ภายใต้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในการทำการตลาดและจัดจำหน่ายช่องรายการ โดยบริษัทฯ ตกลงชำระเงินจำนวน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้แก่ FOX เพื่อเป็นการยุติคดีที่มีการฟ้องร้องในศาลแล้ว รวมทั้งยังเป็นการระงับการเรียกร้องเงินจำนวน อื่น ๆ ภายใต้สัญญาที่มีข้อพิพาทกันอยู่ ในการนี้ FOX ได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลดังกล่าวได้มีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องแล้ว
ธันวาคม
- บริษัทฯ ได้ปรับโครงสร้างการลงทุนของกลุ่มบริษัท ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง เสร็จสมบูรณ์และ ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของ จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ได้มีมติพิเศษอนุมัติการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนมูลค่า 1,200,000,000 บาท และเมื่อการจดทะเบียนเพิ่มทุนแล้วเสร็จ สัดส่วนการถือหุ้นใน จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ของบริษัทฯ เท่ากับร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน ส่วน บริษัท สิริดำรงธรรม จำกัด ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดย นายฐาปน สิริวัฒนภักดี ถือหุ้นในสัดส่วน ร้อยละ 24.99 ของทุนจดทะเบียนและ บริษัท ภักดีวัฒนา จำกัด ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดย นาย ปณต สิริวัฒนภักดี ถือหุ้น ร้อยละ 24.99 ของทุนจดทะเบียน

2561

มีนาคม
- บริษัทฯ ได้ซื้อหุ้นสามัญของ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าจากบริษัท ซีเนริโอ จำกัดซึ่งเป็นบริษัทร่วมมูลค่ารวม 220 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนการลงทุนของบริษัทฯ ในกิจการร่วมค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25.5 เป็นร้อยละ 31.27
พฤษภาคม
- บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าของบริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทย่อย ชื่อ บริษัท เช้นจ์ 2561 จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจผลิตละครโทรทัศน์ออกอากาศทางช่องดิจิตอลทีวี และ ช่องทางออนไลน์ รวมไปถึงการจัดคอนเสิร์ต โดยมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว จำนวน 20 ล้านบาท
สิงหาคม
- จัดตั้งบริษัทย่อย ชื่อ บริษัท โอเอสพี ทีวี จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม โดยมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว จำนวน 0.13 ล้านบาท และบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 51 และ บริษัท จีเอ็มเอ็ม ซีเจโอ ช้อปปิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 49
กันยายน
- บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าของบริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทย่อย ชื่อ บริษัท จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจผลิตละครโทรทัศน์ออกอากาศทางช่องดิจิตอลทีวี และ ช่องทางออนไลน์ โดยมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว จำนวน 20 ล้านบาท
พฤศจิกายน
- บริษัทฯ ได้อนุมัติปิดกิจการ บริษัท แฟมมิลี่โนฮาว จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วม ที่บริษัทฯร่วมถือหุ้นกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในสัดส่วนร้อยละ 50 ได้พิจารณายุติออกอากาศสถานีโทรทัศน์มันนี่ชาแนล (Money Channel) ให้มีผลในวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป
- บริษัทฯ ได้อนุมัติปิดบริษัทบริษัทย่อยซึ่งยังไม่ได้มีการประกอบธุรกิจจำนวน 3 บริษัท คือ บริษัท ที่ฟ้า สตูดิโอ จำกัด บริษัท กังโฮ สตูดิโอ จำกัด และ บริษัท บราโว่ สตูดิโอ จำกัด

2562

เมษายน
- บริษัทฯ มีมติการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2562 อนุมัติการนำเงินสำรองตามกฎหมาย จำนวน 81,994,973 บาท และ โอนส่วนล้ำมูลค่าหุ้นสามัญ จำนวน 2,950,660,598 บาท เพื่อชดเชยผลขาดทุนสะสมทั้งหมดของบริษัทตามงบการเงิน ณ 31 ธันวาคม 2561 จำนวน 3,032,655,571 บาท ซึ่งภายหลังจากการชดเชยผลขาดทุนสะสมแล้ว บริษัทยังมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นสามัญเหลืออยู่อีก จำนวน 1,896,968,197 บาท และไม่มีผลขาดทุนสะสมของบริษัท
มิถุนายน
- บริษัทฯ ได้ยื่นจดทะเบียนเลิกบริษัทย่อยที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจแล้วต่อกระทรวงพาณิชย์ จำนวน 3 บริษัท คือ บริษัท ดิจิตอล เจน จำกัด บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ จำกัด บริษัท จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอ จำกัด
สิงหาคม
- บริษัทฯ มีมติอนุมัติจ่ายปันผลระหว่างกาลจากกำไรสุทธิ งวด 6 เดือนแรกของปี 2562 ตามงบการเงินเฉพาะกิจการให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในอัตราหุ้นละ 0.10 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 81.99 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62 ของกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะกิจการ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการจ่ายปันผลของบริษัทฯ
กันยายน
- บริษัทฯ ซื้อหุ้น บริษัท จีเอ็มเอ็ม ซีเจ โอ ช้อปปิ้ง จำกัด จากผู้ถือหุ้นเดิมจำนวน 2,646,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 26.45 บาท ทำให้สัดส่วนการลงทุนในบริษัทย่อยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงจากร้อยละ 51 เป็นร้อยละ 100

2563

มีนาคม
- บริษัทฯ มีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากกำไรของบริษัทฯ ปี 2562 ให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.20 บาท คิดเป็นเงินปันผลรวม 164 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ที่ประชุมสามัญประจำปีมีมติ รับทราบการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากกำไรของบริษัทฯ ปี 2562 แล้ว
เมษายน
- บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 51 ได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนใน บริษัท น้ำดีไม้งาม จำกัด เพื่อเป็นบริษัทหลักในการทำการสื่อสารการตลาดให้กับภาพยนตร์และซีรีส์ ของบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด รับงานด้านประชาสัมพันธ์ และวางกลยุทธ์สื่อสารการตลาดกับบริษัททั่วไป โดยมีสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 100 และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วจำนวน 3 ล้านบาท
พฤศจิกายน
- บริษัทฯ มีมติอนุมัติขายหุ้นใน บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าของบริษัทฯ จำนวน 9,999,998 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด ในราคาหุ้นละ 120 บาท รวมเป็นมูลค่า 1,200 ล้านบาท ให้แก่ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าอีกแห่งหนึ่งของบริษัทฯ การปรับโครงสร้างดังกล่าว ส่งผลให้บริษัทฯ มีการลงทุนในกิจการร่วมค้าเพียงแห่งเดียวได้แก่ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
- บริษัทฯ มีมติอนุมัติให้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100 เข้าซื้อหุ้น ใน “บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด” จากผู้ถือหุ้นเดิมจำนวน 20,920,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 100 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด ในราคา 1 บาท
- บริษัทฯ มีมติอนุมัติให้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100 เข้าซื้อหุ้น ใน “บริษัท คอนเทนต์ แอนด์ อาร์ตติสท์ เน็ตเวิร์ค จำกัด” จากผู้ถือหุ้นเดิมจำนวน 1,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 100 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 100 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด ในราคา 1 บาท
- บริษัทฯ มีมติอนุมัติให้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100 เข้าซื้อหุ้น ใน “บริษัท เอ-ไทม์ ทราเวิลเลอร์ จำกัด” จาก บริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด และผู้ถือหุ้นเดิมของ บริษัท เอ-ไทม์ ทราเวิลเลอร์ จำกัด จำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 25 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของหุ้น ที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด ในราคา 250,000 บาท
- บริษัทฯ มีมติอนุมัติให้ภายหลังจากการจำหน่ายหุ้นทั้งหมดของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด ให้แก่ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด โดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำ กัด ในฐานะบริษัทย่อยของบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลในการเข้าทำสัญญา แต่งตั้งตัวแทนการตลาดสถานีโทรทัศน์ ช่อง GMM25 และสัญญาให้ใช้ชื่อรายการโทรทัศน์และการอนุญาตให้ใช้สิทธิ ในทรัพย์สินทางปัญญา ระหว่าง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด กับ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด สำหรับการดำเนิน รายการทางสถานีโทรทัศน์ช่อง GMM25 นับตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 และสิ้นสุดเมื่อใบอนุญาต ของสถานีโทรทัศน์ช่อง GMM25 ครบระยะเวลาตามที่กำหนด (รวมถึงช่วงที่มีการต่ออายุ) ซึ่งปัจจุบันใบอนุญาต ดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 24 เมษายน 2572
- บริษัทฯ มีมติอนุมัติให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด โดยคํ้าประกันเงินกู้ยืม จากสถาบันการเงินในสัดส่วน ร้อยละ 31.27 หรือไม่เกินร้อยละ 50 ของเงินกู้จำนวน 2,200 ล้านบาทให้กับ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับนำไปชำระราคาซื้อขายหุ้นใน บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด โดยการค้ำประกันดังกล่าวของบริษัทฯ คิดเป็นวงเงินค้ำประกันจำนวนสูงสุดไม่เกิน 1,100 ล้านบาท
- บริษัทฯ ได้ยื่นจดทะเบียนเลิกบริษัทย่อยที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจแล้วต่อกระทรวงพาณิชย์ จำนวน 3 บริษัท คือ บริษัท ที่ฟ้า สตูดิโอ จำกัด บริษัท กัง โฮ สตูดิโอ จำกัด บริษัท ดีทอล์ค จำกัด

2564

มกราคม
- บริษัทฯ มีมติแต่งตั้งนางกนกพร สาณะวัฒนา เป็นประธานเจ้าหน้าที่การเงิน แทน นางกานต์สุดา แสนสุทธิ์ ที่ได้ลาออกจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าวในวันที่ 13 มกราคม 2564
กุมภาพันธ์
- บริษัทฯ มีมติเข้าทำรายการสิทธิซื้อหุ้นบริษัท โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ KISS ผู้พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม เพื่อขยายช่องทางการขายใหม่ใน Media Commerce ประเภทสินค้าสุขภาพและความงามแบบ Directto-consumer (D2C) โดยจะมีการจัดตั้งบริษัทย่อยใหม่ (Joint Venture) ระหว่างบริษัท โอ ช้อปปิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ และ KISS
มีนาคม
- บริษัท โอ ช้อปปิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ และ บริษัท โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ KISS ได้ดำเนินการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในนาม บริษัท โอทู คิส จำกัด เพื่อประกอบกิจการจัดหา จำหน่ายแบบขายส่งและ/หรือขายปลีก ทำการตลาดและส่งเสริมการขายสำหรับสินค้าประเภทเครื่องสำอาง เวชสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มูลค่าทุนจดทะเบียนในบริษัทร่วมทุนดังกล่าวมีจำนวน 50 ล้านบาท โดยบริษัท โอ ช้อปปิ้ง จำกัด มีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 60
- บริษัทฯ มีมติเห็นชอบให้นำบริษัทในกลุ่มบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (“ONE”) ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าของบริษัทฯ โดยแยกออกมาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปครั้งแรก หรือ IPO และนำหุ้นสามัญของ ONE เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจผลิตคอนเทนต์ประเภท ละคร ซีรีส์ และรายการที่มุ่งเน้นการออกอากาศผ่านช่องทางโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลทีวีเป็นหลัก และช่องทางคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงในระบบ FM
เมษายน
- บริษัทฯ และ วายจีเอ็นเตอร์เทนเมนต์ อิงค์ (“YG”) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศิลปินไอดอล โดย YG เป็นบริษัทที่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศเกาหลีใต้ (Korea Exchange: KRX) ได้ดำเนินการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในนาม บริษัท วายจีเอ็มเอ็ม จำกัด เพื่อประกอบกิจการธุรกิจด้านบันเทิงทุกชนิดและให้คำปรึกษา เช่น จัดคอนเสิร์ต ละครเวที การแสดงต่างๆ มูลค่าทุนจดทะเบียนในบริษัทร่วมทุนดังกล่าวมีจำนวน 200 ล้านบาท โดยบริษัทฯ มีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 51
พฤษภาคม
- บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) (“ONEE”) ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าที่บริษัทถือหุ้นสามัญ ร้อยละ 31.27 ได้ยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่ แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์แหง่ ประเทศไทย ให้รับหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2564
มิถุนายน
- บริษัทฯ ได้เข้าใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญของบริษัท โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (“KISS”) จำนวน 59,940,000 หุ้นหรือคิดเป็นร้อยละ 9.99 ของหุ้นทั้งหมดของ KISS ในราคาเดียวกันกับราคาเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนเป็นครั้งแรกของ KISS ที่ 9.00 บาทต่อหุ้นตามที่ได้ตกลงกัน รวมเป็นมูลค่าประมาณ 539.8 ล้านบาท เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2564
กรกฎาคม
- บริษัทฯ ได้ยื่นจดทะเบียนเลิกบริษัทย่อยที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจแล้วต่อกระทรวงพาณิชย์ จำนวน 3 บริษัท คือ บริษัท ทีนทอล์ก จำกัด บริษัท จี เอส-วัน จำกัด และบริษัท บราโว่ สตูดิโอ จำกัด
สิงหาคม
- บริษัทฯ ได้ยื่นจดทะเบียนเลิกบริษัทย่อยที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจแล้วต่อกระทรวงพาณิชย์ จำนวน 1 บริษัท คือ บริษัท คอนเทนต์ แอนด์ อาร์ตติสท์ เน็ตเวิร์ค จำกัด
ตุลาคม
- กลุ่มผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ซึ่งเป็นสมาชิกของครอบครัวดำรงชัยธรรมได้ดำเนินการปรับโครงสร้างการถือหุ้น โดยการโอนหุ้นที่กลุ่มผู้ถือหุ้นดังกล่าวถืออยู่ทั้งหมดให้แก่ บริษัท ฟ้า ดำรงชัยธรรม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งที่จัดตั้งขึ้นโดยผู้ถือหุ้นกลุ่มดังกล่าว เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นภายในครอบครัวดำรงชัยธรรม และรองรับการกำกับดูแลธุรกิจของครอบครัวในระยะยาว การได้มาซึ่งหุ้นในบริษัทฯ โดย บริษัท ฟ้า ดำรงชัยธรรม จำกัด จากการโอนหุ้นครั้งนี้ทำให้บริษัท ฟ้า ดำรงชัยธรรม จำกัด ได้เข้ามาถือหุ้นในบริษัทฯ ทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 52.05 ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทฯ และบริษัท ฟ้า ดำรงชัยธรรม จำกัด ได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ
พฤศจิกายน
- เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ได้รับชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนและจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนที่ออกจำหน่ายและชำระแล้วจากจำนวน 3,810 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 1,905,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 2 บาท) เป็นจำนวน 4,762.5 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 2,381,250,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 2 บาท) และได้ดำเนินการจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์แล้วในวันเดียวกัน อย่างไรก็ตามการเพิ่มทุนจดทะเบียนดังกล่าวทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯ ในกิจการร่วมค้าดังกล่าวลดลงจากร้อยละ 31.27 เป็นร้อยละ 25.02 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับหุ้นสามัญของบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนและเริ่มทำการซื้อขายเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564

2565

พฤษภาคม
- บริษัท จีเอ็มเอ็ม โอ ช้อปปิ้ง จํากัด (“โอ ช้อปปิ้ง”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ได้ขายเงินลงทุนทั้งหมดที่ถืออยู่ในบริษัทร่วมทุน คือ บริษัท โอทูคิส จํากัด (“O2KISS”) จํานวน 3 ล้านหุ้น (คิดเป็น 60% ของทุนจดทะเบียน) ให้กับบริษัท โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด (มหาชน) (“KISS”) ในราคา 5 ล้านบาท
- บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด (GDH) ร่วมกับบริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จำกัด (BTV) จัดตั้งบริษัท สเปเชียล เดสทินี จำกัด (Special Destiny) และจับมือกับบริษัท คิวบิกซ์ ดิจิทัล แอสเสท จำกัด (Kubix) บริษัทในกลุ่มธนาคารกสิกรไทย และผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) ในการเสนอขาย “เดสทินี โทเคน” (DESTINY TOKEN) โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนในภาพยนตร์บุพเพสันนิวาส ๒ ด้วยจํานวนจองซื้อทั้งหมด 16,087 โทเคน รวมมูลค่าระดมทุนกว่า 265 ล้านบาท ระยะเวลาลงทุนไม่เกิน 2 ปี

กรกฎาคม
- บริษัทฯ เปิดตัว “จีเอ็มเอ็ม อะคาเดมี่” (GMM Academy) สถาบันสอนวิชาชีพศิลปินมาตรฐานระดับโลก มุ่งมั่นในการปั้นศิลปินไอดอลไทยเข้าสังกัด โดยเน้นที่ 3 ส่วน ได้แก่ ไอดอล, ป็อปสตาร์ และไทดอล (ศิลปินลุกทุ่ง) และยังมีผู้ฝึกสอนมากความสามารถ ได้แก่ (1) คุณวิทวัส วีระญาโณ (ครูเจ) Vocal Master จบการศึกษาจากหลักสูตรด้านการสอนร้องเพลงจาก 5 สถาบันในต่างประเทศ และเป็นคนแรกของเอเชียที่ได้อันดับ 1 จากการสอบ Panel Test ของสถาบัน Institute For Vocal Advancement จากอเมริกา (2) คุณอภิสราฐ์ เพชรเรืองรอง (ครูเจด้า) Performance Master ได้รับรางวัล Best Choreographer Of The Year จาก Mnet Asia Music Awards 2016 และเป็นตัวแทนประเทศไทยในฐานะกรรมการการแข่งขันระดับโลก The World Hip Hop Dance Championship Hiphop International.
- บริษัทฯ ร่วมมือกับ บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) (VGI) ผู้นำด้านการตลาด Offline-to-Online (“O2O”) Marketing โซลูชั่นส์ ได้เปิดตัวแคมเปญ 3D City Pop นำเสนอสื่อรูปแบบใหม่ด้วยนวัตกรรม Technic 3D Entertainment Illusion ดึงดูดความสนใจด้วยศิลปิน GMM มีทั้ง เป๊ก ผลิตโชค Getsunova และ Three Man Down ร้องเพลงแบบ Vertical 3D Concert บนจอ LED Empire Tower นอกจากนี้ยังมีการ Wrap ขบวนรถไฟฟ้า BTS จากผลงานการออกแบบของศิลปินอย่าง หนุ่ม กะลา, วง Cocktail, วง Tilly Birds และวง Big ass

สิงหาคม
- บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จํากัด (“GDH”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ได้ขายเงินลงทุนทั้งหมดที่ถืออยู่ในบริษัทร่วม คือบริษัท นาดาว บางกอก จํากัด (“Nadao Bangkok”) จํานวน 6,000 หุ้น (คิดเป็น 30% ของทุนจดทะเบียน) ให้กับ นายทรงยศ สุขมากอนันต์ ในราคา 6,948,780 บาท

กันยายน
- บริษัทฯ เปิดตัวศิลปินบอยแบรนด์วงใหม่ “PERSES” (เพอร์เซส) สังกัดค่าย G’NEST (จีเนส) ภายใต้ GMM Grammy พร้อมสมาชิก 5 คน คือ Jung, Nay, Krittin, Pluggy และ Palm และเปิดตัวเพลงแรก My Time

ตุลาคม
- บริษัทฯ เปิดตัวศิลปินเกิร์ลกรุ๊ปวงแรก “ALALA” (อาลาล่า) จากค่าย White Fox ภายใต้GMM Grammy มีสมาชิก 4 สาว 4 สไตล์ "คริส - ชรินทร์ทิพย์ รุ่งธนเกียรติ / อิม - พิมพ์ภัทรา เวศย์วรุตม์ / เมจิ - ณัชชา ไชยพยอม / มินนี่ - บุณฑริกา ชีวรุโณทัย" และเปิดตัวเพลงแรก "ร้องไห้ดังๆ (Not a chance)"

พฤศจิกายน
- บริษัทฯ จัดคอนเสิร์ต เมื่อวันที่11-13 พ.ย. (3 รอบการแสดง) สำหรับคอนเสิร์ต “SINGING BIRD 2022 ตอน LIFETIME SOUNDTRACK CONCERT” โตมากับเพลงพี่เบิร์ด ณ อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี
- GMM SHOW หน่วยงานภายใต้บริษัทฯ เป็นผู้จัดเทศกาลดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ “Chang Music Connection Presents เชียงใหญ่เฟส 3” เมื่อวันที่ 19-20 พ.ย. ณ Royal Train Garden Resort จ.เชียงใหม่
- GMM SHOW หน่วยงานภายใต้บริษัทฯ เป็นผู้จัดเทศกาลดนตรีครั้งแรกที่ใจกลางกรุงเทพฯ งาน “The Concert Application Presents Monster Music Festival" 26-27 พ.ย. รวม 5 เวที กับ 70 ศิลปิน ที่ สนามกีฬาแห่งชาติ

ธันวาคม
- บริษัทฯ ได้จัดเทศกาลดนตรี Pepsi presents Big Mountain Music Festival ครั้งที่ 12 “ALL-NEW BMMF12 มัน-ใหม่-มาก” 10-11 ธ.ค.จำนวน 2 วัน 2 คืน จัดสรรบนพื้นที่ 600 ไร่ จำนวน 9 เวที รวม 150 ศิลปิน ที่ The Ocean เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา
- บริษัทฯ เปิดตัวโปรเจกต์ “New Country” คลื่นลูกใหม่ของเพลงลูกทุ่ง จากค่าย Grammy Gold ซึ่งปล่อยมิวสิควีดีโอแรก เพลง “Stand by หล่อ” จากสมาชิก 4 คน นำโดย เอ็มโบ, ติณติณ ,นุ, กีต้าร์ ได้รับกระแสตอบรับที่ดีโดยเฉพาะ TikTok นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ปล่อยเพลง “ติ่งค่ะ” ของ 2 สาว กิ๊ก และ มัทรี จังหวะดนตรีสนุกสนานและมีผู้รับชมบน YouTube มากกว่า 2 ล้านวิวแล้ว

2566

กุมภาพันธ์
- คณะกรรมการบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จํากัด (มหาชน) มีมติในที่ประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างธุรกิจเพลง โดยอนุมัติให้มีการขายทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจเพลง ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จํากัดเพียง สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเพลง การปรับเปลี่ยนแผนงานด้านบุคลากรและการทำสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่บริษัทย่อยที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ (“บริษัทย่อย”) ซึ่งบริษัทฯ จะถือหุ้นในบริษัทย่อยสัดส่วนร้อยละ 100 ของหุ้นสามัญทั้งหมดใน บริษัทย่อย การปรับโครงสร้างธุรกิจเพลงเพื่อให้บรรลุตามแผนกลยุทธ์ของบริษัทฯ ในการสร้างธุรกิจที่ยั่งยืนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินธุรกิจและความคล่องตัวในการหาพันธมิตรทางธุรกิจในอนาคต

เมษายน
- บริษัทฯ ได้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทย่อย “บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด” (GMM Music) เพื่อประกอบธุรกิจเพลงแบบครบวงจร ทุนจดทะเบียน 4,000,000 บาท (หุ้นสามัญ 400,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) ทุนชำระแล้ว 1,000,000 บาท (หุ้นสามัญ 400,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 2.5 บาท) โดยบริษัทฯ ถือหุ้น 100%

กรกฎาคม
- บริษัทฯ มีมติอนุมัติแผนการเสนอขายหุ้นสามัญของบริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (GMM Music) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก และการนำหุ้นสามัญของ GMM Music เข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงการอนุมัติเรื่องต่างๆ ที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับแผนการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งได้แก่การเพิ่มทุนจดทะเบียนการจัดสรรหุ้นสามัญและการเสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ประชาชนทั่วไป เป็นต้น

กันยายน
- บริษัทฯ ได้โอนธุรกิจเพลงซึ่งหมายความรวมถึงการโอน 1. ทรัพย์สิน หนี้สิน ภาระผูกพัน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจเพลง 2. เงินลงทุนและหุ้นในบริษัทย่อยได้แก่ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, บริษัท จีสองร้อยเอ็ม จำกัด, บริษัท จีอาร์โวคอล สตูดิโอ จำกัด และบริษัท วายจีเอ็มเอ็ม จำกัด ให้แก่ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (GMM Music) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

พฤศจิกายน
- บริษัทฯ ได้มีการปรับรูปแบบการประกอบธุรกิจจากบริษัทที่มีการประกอบธุรกิจทั่วไป (Operating Company) เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ซึ่งธุรกิจหลักที่บริษัทฯ ดำเนินการผ่านบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ได้แก่ ธุรกิจเพลง ธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง และธุรกิจสื่อ โดยบริษัทฯ ไม่มีการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญเป็นของตนเอง ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 5/2566 วันที่14 พฤศจิกายน 2566 จึงมีมติให้ GMM Music เป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักที่ไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนของบริษัทฯ โดยภายหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการเสนอขายหุ้นสามัญของ GMM Music ต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) และการนำหุ้นสามัญของ GMM Music เข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (ตามที่ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯแล้ว) แล้วให้บริษัท จีเอ็มเอ็ม โอ ช้อปปิ้ง จำกัด (O-Shopping) เป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักที่ไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนของบริษัทฯ แทน GMM Music


การเติบโตของเงินทุน

ปี เหตุการณ์
2526
ทุนจดทะเบียน 0.5 ล้านบาท
2527
ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท
2533
ทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท
2535
ทุนจดทะเบียน 70 ล้านบาท
2537
ทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท
2545
ทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท
2548
ทุนจดทะเบียน 490 ล้านบาท*
2552
ทุนจดทะเบียน 530.56 ล้านบาท
2556
ทุนจดทะเบียน 636.32 ล้านบาท
2557
ทุนจดทะเบียน 819.94 ล้านบาท
2558
ทุนจดทะเบียน 819.94 ล้านบาท
2559
ทุนจดทะเบียน 819.94 ล้านบาท
2560
ทุนจดทะเบียน 819.94 ล้านบาท
2561
ทุนจดทะเบียน 819.94 ล้านบาท
2562
ทุนจดทะเบียน 819.94 ล้านบาท
2563
ทุนจดทะเบียน 819.94 ล้านบาท
2564
ทุนจดทะเบียน 819.94 ล้านบาท
2565
ทุนจดทะเบียน 819.94 ล้านบาท
2566
ทุนจดทะเบียน 819.94 ล้านบาท

หมายเหตุ : *ลดทุนจดทะเบียน จำนวน 10 ล้านบาท จากผลการตัดจำหน่ายหุ้นซื้อคืน