คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) มีองค์ประกอบและคุณสมบัติครบถ้วนตามแนวทางที่ ก.ล.ต. และ ตลท. กำหนด โดยประกอบด้วยกรรมการอิสระอย่างน้อย 3 ท่าน และมีอย่างน้อย 1 ท่าน ที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจ หรือมีประสบการณ์ทางด้านบัญชีหรือการเงินอย่างเพียงพอที่จะทำหน้าที่ในการสอบทานงบการเงินได้ และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ซึ่งอาจได้รับการแต่งตั้งกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งต่อไปได้อีกตามที่คณะกรรมการบริษัทเห็นว่าเหมาะสม

คณะกรรมการตรวจสอบ ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท โดยมีขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กำหนดไว้ใน กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งสอดคล้องกับขอบเขตการดำเนินงานในเรื่องหลักต่างๆ ที่หน่วยงานกำกับดูแล ประกาศกำหนด

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ประกอบด้วยบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 ท่าน ที่เป็นกรรมการอิสระและมีคุณสมบัติครบถ้วนตามตามเกณฑ์ที่ ตลท.และ ก.ล.ต. กำหนด ในปี 2566 ที่ผ่านมา มีการประชุมจำนวน 5 ครั้ง ซึ่งรายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของแต่ละท่าน สรุปได้ดังนี้

หมายเหตุ

\1 ดร.นริศ ชัยสูตร และนายสุวิทย์ มาไพศาลสิน เป็นกรรมการตรวจสอบที่มีความรู้ และประสบการณ์เพียงพอที่จะทำหน้าที่ในการสอบทานงบการเงินได้

ณ วันที่ 30 เมษายน 2567 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ประกอบด้วยบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 ท่าน ที่เป็นกรรมการอิสระและมีคุณสมบัติครบถ้วนตามตามเกณฑ์ที่ ตลท.และ ก.ล.ต. กำหนด สรุปได้ดังนี้

หมายเหตุ

\1 ดร.นริศ ชัยสูตร เป็นกรรมการตรวจสอบที่มีความรู้ และประสบการณ์เพียงพอที่จะทำหน้าที่ในการสอบทานงบการเงินได้
\2 นายธนา เธียรอัจฉริยะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ ณ วันที่ 30 เมษายน 2567 แทนนายสุวิทย์ มาไพศาลสิน

ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ

  1. สอบทานให้บริษัทฯ มีการรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้และเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ
  2. สอบทานให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายใน ระบบการบริหารความเสี่ยง และระบบการตรวจสอบภายในที่เพียงพอ เหมาะสมและมีประสิทธิผล
  3. สอบทานให้มีการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจริยธรรมธุรกิจ อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิผล
  4. สอบทานให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลท. หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ
  5. พิจารณาเสนอแต่งตั้งและเลิกจ้างผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ
  6. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยง ให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อกำหนดของ ตลท. เพื่อให้มั่นใจว่า สมเหตุผล และเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ
  7. กำกับดูแลการปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายในในระดับนโยบาย และการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน โดยพิจารณาให้ความเห็นชอบกฎบัตร ความเป็นอิสระ รวมทั้งขอบเขตและแผนการตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบภายใน
  8. พิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน รวมถึงพิจารณาให้ความเห็นชอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน และการพิจารณาผลตอบแทนในหน่วยงานตรวจสอบภายใน ที่ประเมินโดยหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน และผู้บริหารสูงสุดของบริษัทฯ
  9. พิจารณาและสอบทานผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะของทั้งผู้สอบบัญชี และหน่วยงานตรวจสอบภายใน รวมทั้งติดตามเพื่อให้มั่นใจว่า ฝ่ายบริหารมีการดำเนินการต่อข้อเสนอแนะดังกล่าวอย่างเพียงพอ มีประสิทธิภาพ และภายในเวลาที่เหมาะสม
  10. คณะกรรมการตรวจสอบสามารถเชิญผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้องมารายงาน หรือนำเสนอข้อมูล ร่วมประชุม หรือจัดส่งเอกสารตามที่เห็นว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น
  11. ในกรณีที่จำเป็นคณะกรรมการตรวจสอบสามารถขอคำปรึกษาจากที่ปรึกษาภายนอก หรือผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตรวจสอบ โดยบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามระเบียบของบริษัทฯ
  12. ทบทวนและแก้ไขกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยปีละครั้งหรือตามความจำเป็นเพื่อให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขององค์กรและนำเสนอคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ
  13. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ
  14. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ

 

หมายเหตุ : สามารถศึกษาประวัติโดยละเอียดของคณะกรรมการชุดย่อยรายบุคคล เพิ่มเติม